งานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 11 โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด งานนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ความสำคัญกับวงการโซเชียล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้งยังร่วมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียล ด้วยการมอบรางวัลเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ
โดยในงานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวอักษร "Z" ในชื่องานเป็นตัวอักษร "S" เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารเรื่องราวของงานประกาศรางวัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนโลโก้และถ้วยรางวัล โดยตัวอักษร "S" ถูกนำมาออกแบบให้แยกออกจากกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามชิ้นโดยแต่ละชิ้นมีทั้งเหลี่ยมมุมและความโค้งมน เรียงต่อกันในแนวตั้งให้สามารถมองเห็นและตีความได้ในหลากหลายมิติ เพื่อสื่อความหมายว่าบนโลกโซเชียลนั้นแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
งานนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้งยังร่วมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียล
ด้วยการมอบรางวัลเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ
โดยได้พัฒนา “METRIC” เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวัดผล ร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวงเพื่อความสมบูรณ์ของผลการตัดสิน
ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ
ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, รายการโทรทัศน์
ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงาน หรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์
ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดีย ของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ
โดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) ออกมาเป็น Own Score และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ออกมาเป็น Earn Score
ผ่าน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter และ YouTube ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ
Fundamental Factors
Analytical Factors
ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, รายการโทรทัศน์
โดยพิจารณาจากกระแสการพูดถึงของคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย จึงจะทำการวัดผลการคนพูดถึงรายการนั้น ๆ ผ่าน Earn Channel
บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ
Fundamental Factors
Analytical Factors
ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์
โดยวัดผลคอนเทนต์บนช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และจากการถูกพูดถึงหรืออ้างถึง (Earn Channel)
บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok ซึ่งในทุกๆ ช่องทางจะมีน้ำหนักการให้คะแนนที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองคือ
Fundamental Factors
Analytical Factors
BRAND SCORE